~คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย~
หรือเรียกสั้นๆว่า OT ซึ่งไม่ได้มาจากว่า Over time อย่างใดทั้งสิ้น - -" แต่มาจากคำว่า Otolaryngology
(แปลตาม dictionary หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับโรคของหู คอและจมูก)
ชื่อจริงๆของเรา คือ Communication Disorders แปลว่า ความผิดปกติของการสื่อความหมายนะคะ
แต่เนื่องจากคณะเราเพิ่งเปิดใหม่ก็เลยไปอยู่กับภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยาไปก่อน (Department of Otolaryngology) แต่ว่าตอนนี้ก็กำลังจะมีภาควิชาเป็นของตัวเองแล้วล่ะค่ะ \ ^O^ / เย้ๆๆ
น้องๆอาจจะคิดว่า โอ้! หนูจะได้เป็นหมอเหรอคะ ก็บอกได้เลยค่ะว่าไม่ใช่
เพราะว่าคณะของเราจบแล้วจะได้วิทยาศาสตร์บัณฑิต(วทบ.)สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย
ไม่ใช่แพทยศาสตรบัณฑิต(พบ.)ค่ะ แต่ยังไงคณะนี้ก็เป็นสหเวชสาขาหนึ่งนะคะ(วิชาชีพที่ต้องทำงานกับคนไข้น่ะ)
หลายๆคนอาจจะสงสัยว่า 'อ้าว แล้วทำไมคณะนี้ถึงป็นคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีล่ะ'
คำตอบก็คือ เพราะว่าคณะของเราอยู่ในสังกัดของโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ซึ่งภายในคณะแพทย์รามาฯนั้นก็ประกอบด้วย 3 คณะ คือ
1 คณะแพทยศาสตร์
2 พยาบาลศาสตร์ค
3 ความผิดปกติของการสื่อความหมาย
ทั้ง 3 คณะก็จะมีชื่อขึ้นต้นด้วย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี แล้วตามด้วยสาขาหรือภาควิชาค่ะ
หยุดก่อนค่ะ! อย่าเพิ่งปิดหนี! แค่ไม่ได้เป็นหมออย่าเพิ่งเสียใจแล้วปิดทิ้งไม่อ่านต่อ(คนเขียนเสียใจนะเนี่ย T^T)
ถึงคณะเราจะได้ไม่เป็นหมอแต่คณะเราก็มีความสำคัญมากนะคะเพราะเนื่องจากในปัจจุบันนี้มีบุคคลทั้งเด็กและผู้ใหญ่เป็นจํานวนมาก
ที่มีความผิดปกติทางด้านการพูดและการได้ยิน (ความผิดปกติของการสื่อความหมาย)
โดยมีสาเหตุต่าง ๆ เช่น โรคที่ทําให้เกิดความผิดปกติในระบบการได้ยินและหรือการพูด
โรคจากการทํางานในที่ๆ มีเสียงดัง และโรคจากกรรมพันธุ์ เป็นต้น จึงมีความจําเป็นในการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติดังกล่าว
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านการตรวจวินิจฉัย
การแก้ไข การฟื้นฟู การค้นคว้าวิจัย การฝึกอบรม การเผยแผ่ความรู้ และการป้องกันความผิดปกติของการพูดและการได้ยินให้แก่
ประชากรกลุ่มเสี่ยง ตลอดจนประชาชนทั่วไป (อันนี้ลอกเขามาทั้งหมดเลย -///- อายจัง) ซึ่งบุคลากรทางด้านเรานี้นะคะ มีน้อยมากๆๆๆค่ะ
เมื่อเทียบกับประชากรทั่วประเทศไทยค่ะ ก็อยากให้น้องๆที่สนใจ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเราค่ะ
แล้วอีกอย่างนึงนะคะ สาขาเรามีที่เดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยนะค่ะ อิอิ (ภูมิใจๆ)
ฮั่นแน่! อ่านมาถึงนี้แล้วแสดงว่าชักสนใจแล้วล่ะสิ(ปลื้มสุดๆ)
พูดถึงเรื่องเรียนนะคะปี 1 เราก็จะเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานกับเพื่อนๆคณะอื่นๆที่มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่ศาลายา(นครปฐม)ค่ะ วิชาที่เรียนจะแตกต่างจากรุ่นพี่ทั้ง 3 รุ่นแรกนะคะ เพราะว่ามีการปรับหลักสูตรใหม่
เราจึงไม่ต้องเรียนแคลคูลัสกับสถิติ(เย้! T^T) แต่ก็ยังต้องเรียนคณิตอยู่นะคะ(แต่เรียนแค่ สมการเชิงเส้น
เมตริกซ์ เซต การเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่ ความน่าจะเป็น และการตัดสินใจ) ส่วนวิชาอื่นๆ พวก ฟิสิกส์
ชีวะ เคมี ก็เรียนเหมือนๆกับคณะอื่นอ่ะค่ะ แต่รู้สึกจะน้อยกว่าหน่อยเพราะไม่มีแลปเคมีอ่ะนะ แล้วก็ไม่มีสอบแลปกริ๊ง
แต่ต้องสอบไบโอ 2 ตัวแทน ซึ่งเป็นอะไรที่โหดมากๆเลย เพราะเราต้องอ่านไบโอตั้ง 2 ตัวแนะ(ในขณะที่คนอื่นเขาสอบแลปกริ้งกันไปแล้ว)
อ้อ! แล้วก็ต้องเรียนคอมพิวเตอร์ด้วยนะ เป็นคอมฯแบบเน้นทฤษฎีอย่างเดียว(หมายความว่าคุณจะไม่ได้แตะคอมฯในคาบเรียนนี้แน่นอน)
อืม! แล้วก็ยังมีวิชาใหม่ที่เพิ่งเปิดสอนที่มหิดลด้วยนะ คือ วิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ หรือเรียกสั้นๆว่า MUGE
วิชานี้พูดง่ายๆก็คือวิชาสังคมศึกษานั้นแหละ ซึ่งในคลาสเรียนนี้เราจะได้เรียนรวมกับเพื่อนๆจากคณะอื่น อาทิเช่น
หมอ พยาบาล เภสัช วิทยาฯ ฯลฯ ทำให้เราได้รู้จักเพื่อนๆต่างคณะ(และได้เหล่หนุ่มๆคณะอื่นด้วย อิ_อิ)
ซึ่งเวลาส่วนใหญ่ในวิชานี้เราจะเน้นนอนกันเป็นส่วนใหญ่อ่ะค่ะ(ถึงไม่ใช่วิชานี้ก็นอนเป็นส่วนใหญ่เหมือนเดิมแหละ - -")
วิชาแต่ละวิชาที่เราเรียนนี้ก็จะเหมือนกับม.ปลายเลยค่ะ แต่ว่าจะลึกกว่ามากๆ ถ้าน้องๆคนไหนแม่นอยู่แล้วก็สบายไป
แต่ถ้าไม่ ล่ะก็...(หึหึหึ ^-^*)
ในเทอม 2 น้องๆจะได้เจอกับวิชาที่เฝ้ารอคอย(รึป่าวหว่า?) นั้นก็คือ วิชากายวิภาคศาสตร์(Anatomy)
น้องๆจะได้เรียนกับอาจารย์ใหญ่ค่ะ อันนี้เราต้องเรียนกับพยาบาลนะคะ
สำหรับพี่ตอนแรกที่เรียนนี่คือ อารมณ์ว่าเรียนเสร็จแ้ลวต้องกินข้าว
ทำให้พี่ไม่กินเนื้อสัตว์กับพวกเนื้อติดกระดูกไปประมาณ 2 อาทิตย์ได้ค่ะ
แต่หลังจากนั้นรู้สึกว่าอะไรก็อร่อย เรียนไปหิวข้าวไปซะงั้นอ่ะ (ฮ่าๆๆๆ)
เทอมนี้บอกได้เลยว่าสบายมากๆ น้องๆอาจจะว่างจนไม่รู้จะทำอะไรดีเลยล่ะ
วิชาอื่นๆก็มี อังกฤษ ไทย และก็เหมือมเดิม MUGE ค่ะ
แล้วพอปี 2 ขึ้นไปน้องๆก็ต้องไปเรียนวิชาคณะกันที่โรงพยาบาลรามาธิบดีค่ะ
แต่ในปี 2 เราก็ยังไม่ได้ไปที่รามาฯอย่างเต็มตัว เพราะยังต้องไป-กลับ รามาฯ-ศาลายาอยู่
วิชาในที่เรียนที่ศาลายาก็มีวิชาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ อันนี้เราจะเรียนพวกเรียนการออกเสียงคำในภาษาค่ะ
แล้วก็มีสรีระวิทยา อันนี้ก็จะต่อเนื่องจากวิชากายวิภาคคือเราจะเรียนกระบวนการการทำงานของระบบในร่างกายและวิชาภาษาอังกฤษ
ส่วนที่เรียนที่รามาฯ ก็จะเป็นวิชาพื้นฐานของคณะเราแล้วล่ะ น้องๆก็จะได้เรียนกายวิภาคและสรีระวิทยาของการพูดและการได้ยิน
จะได้เรียนตั้งแต่ระบบของการพูดประกอบด้วยอะไรบ้าง หูมีองค์ประกอบอย่างไร และเราสามารถพูดและได้ยินได้อย่างไร (ชักยากแล้วใช่ไหมล่า)
ความผิดปกติของการสื่อความหมายเบื้องต้น อันนี้เราก็จะเริ่มรู้จักคนไข้ต่างๆที่เราจะได้เจอในอีก 2 ปีข้างหน้านี้
จิตวิยาเชิงพัฒนาการ (หึหึ) น้องๆจะต้องเรียนพัฒนาการของเด็กในช่วงต่างๆ แล้วก็มีทฤษฎีมากมายก่ายกองให้ท่องค่ะ
บางคนเรียนวิชานี้อาจจะได้รู้จักตัวเองมากขึ้นด้วยนะ เพราะว่าพฤติกรรมบางอย่างที่เราแสดงออกมาทุกวันนี้ มันก็เกิดมาจากการพัฒนาในด้านต่างๆตั้งแต่เด็กเหมือนกันนะ
โอ๊ะๆ น้องๆอย่าเพิ่งเหนื่อยกันนะคะ นั้นเพียงแค่เทอม 1 เท่านั้น ยังสิวๆ
แต่ว่าก็เอาว่าแค่นั้นละกัน เดี๋ยวจะตกใจกันไปได้นะ (หึหึหึ)
ส่วนพี่ๆปีสูงก็จะเรียนเกี่ยวกับคลินิก มีการฝึกปฏิบัติจริงกับคนไข้ โดยจะมีการแยกวิชาเอก คือ แก้ไขการพูด และแก้ไขการฟัง
ก็แล้วแต่นะคะว่าแต่ละคนจะถนัดด้านไหน ซึ่งทั้ง 2 ด้านนั้นก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลยทีเดียว
เพราะไม่ว่าจะการพูดหรือฟัง ถ้าเราสูญเสียสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปก็เท่ากับว่าตายทั้งเป็นเลยทีเดียว น้องๆลองคิดว่าตัวเองพูดไม่ได้
หรือไม่สามารถได้ยินอะไรได้เลยจะเป็นอย่างไร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้น ให้สามารถ
พูดหรือฟังได้อีกครั้ง ถึงจะไม่เหมือนปกติก็ตาม(มีหลักการน่าดูเลยเนอะ!)
เนื่องด้วยคณะของเราเพิ่งเปิดมาได้ไม่นาน ก็เลยมีคนค่อนข้างน้อย แต่นั้นก็ถือเป็นข้อดีนะคะ ^-^
เพราะว่าทำให้คนในคณะค่อนข้างสนิทกันเร็ว แล้วก็รู้จักกันเกือบทุกคน(แหะๆ พอดีจำรุ่นบางคนไม่ค่อยได้เพราะไม่ได้เจออ่ะ >/|<)
เป็นคณะที่อบอุ่นทีเดียวล่ะค่ะ เพราะคณะเราเนี่ยก็บอกแล้วว่ามีคนน้อยดังนั้นก็มักจะอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่
(ก็มันมีกันแค่นั้นแหละ - -") ไปไหนไปกัน เฮฮาสนุกสนาน ไม่เหมือนบางคณะที่คนเยอะๆ แล้วก็รู้สึกเหมือนเจอเพื่อนใหม่ทุกวัน
แถมบางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอยู่คณะเดียวกัน(ถ้ามันจำได้ทั้งหมด100กว่าคนก็เทพไปแล้ว - -")
ยังไงพี่ก็ขอให้กำลังใจน้องๆให้สอบติดในคณะที่หวังไว้นะคะ
สำหรับน้องๆที่จะเข้าคณะนี้ก็พยายามเข้านะคะ แอดมิชชั่นปีนี้คณะเรารับน้องปี 1
จำนวนจำกัด!!! ไม่มีการจองหรือสำรองที่นั่งนะคะ(พูดเหมือนไปดูคอนเสิร์ตเลยเนอะ!)
อันนี้อาศัยความสามารถกับดวงล้วนๆ(แบบว่าต้องเดาเก่งด้วยไง ^^")
ครั้งนี้ถ้าพลาดต้องรอไปจนถึงปีหน้าเลยนะคะ(เพราะเขาสอบกันปีละครั้งอ่ะ)
คะแนนสูงสุด-ต่ำสุดปี 50
คะแนนสูงสุด 6831.2500 คะแนนต่ำสุด 5841.0500
คะแนนสูงสุด - ต่ำสุดปี 51
คะแนนสูงสุด 6718.9500 คะแนนต่ำสุด 6086.9500
คะแนนสูงสุด - ต่ำสุดปี 52
คะแนนสูงสุด 6873.55 คะแนนต่ำสุด 6205.05
คะแนนสูงสุด - ต่ำสุดปี 53!!!!
คะแนนสูงสุด 21783.1500 คะแนนต่ำสุด 18810.4500
คะแนนเว่อร์มากอ่ะปีนี้ ขอบอก!!~ (เต็มสามหมื่น) =O=
ถ้ามีปัญหา หรือข้อสงสัยอะไรก็สามารถสอบถามได้ที่นี่นะคะ
จะมีรุ่นพี่แวะเวียนมาตอบคำถามข้อข้องใจของน้องๆเองค่ะ ^^
จากบทความเดิม : http://my.dek-d.com/pond/story/view.php?id=56653
ปล.แล้วจะแวะมาอัพเดทให้เรื่อยๆนะคะ
|
สธ. ชี้ไทยขาดแคลนนักแก้ไขการพูด นักแก้ไขการได้ยินอย่างหนัก ทั่วประเทศมีแค่ 110 คน
# ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยไทยขาดแคลนนักแก้ไขการพูดและนักแก้ไขการได้ยินอย่างหนัก ทั่วประเทศมีเพียง 110 คน ขณะที่ต้องการประมาณ 500 คน ขณะนี้ไทยมีเด็กเกิดใหม่หูหนวก หูตึง เพิ่มปีละเกือบ 2,000 คน และมีเด็กออทิสติกที่ต้องกระตุ้นฝึกการพูดทั่วประเทศอีก 300,000 คน เร่งผลักดัน ก.พ.กำหนดตำแหน่งให้ชัดเจนในโรงพยาบาล และเพิ่มการผลิตในระดับปริญญาตรี
วันนี้ (7 พฤศจิกายน 2550) ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กทม. นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดการประชุมวิชาการประจำปี 2550 ของสมาคมโสตสัมผัสวิทยาและการแก้ไขการพูดแห่งประเทศไทย โดยมีนักแก้ไขการพูด นักแก้ไขการได้ยิน นักศึกษา พนักงานวิทยาศาสตร์ และผู้สนใจเข้าร่วมประชุม จำนวน 140 คน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้พิการและประชาชนที่มีความผิดปกติในการสื่อความหมาย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
นายแพทย์ปราชญ์กล่าวว่า ปัญหาหูหนวก หูตึง และปัญหาด้านการพูด จัดเป็นความพิการที่บั่นทอนการใช้ชีวิตประจำวันมาก เป็นปัญหาสุขภาพที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจในปี 2544 พบว่า ในจำนวนผู้พิการทั้งหมด ร้อยละ 21-22 มีความพิการด้านการสื่อความหมาย ได้แก่ หูตึง หูหนวก เป็นใบ้ พูดไม่ชัด พูดติดอ่าง และเป็นออทิสติก สูงเป็นอันดับ 2 รองจากความพิการด้านการเคลื่อนไหว ซึ่งมีร้อยละ 40 โดยขณะนี้เด็กเกิดใหม่ทุก 1,000 คน จะมีเด็กพิการทางหู 2 คน หรือปีละ 1,600 คน และมีเด็กออทิสติก 300,000 คนทั่วประเทศ รวมทั้งมีผู้ปัญหาทางการสื่อความหมายอื่นๆ อีกจำนวนไม่น้อย เช่น มีสติปัญญาต่ำกว่าอายุ ผู้ป่วยตัดกล่องเสียง ผู้ที่มีเสียงแหบ เด็กหลังผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่ ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหูชั้นในเทียมแก้ไขหูหนวก ทั้งหมดนี้ล้วนต้องได้รับการฝึกพูด เพื่อให้สามารถสื่อสารได้เหมือนกับคนปกติ
นายแพทย์ปราชญ์กล่าวต่อว่า ผู้ที่มีความพิการดังกล่าว ในอดีตมักจะปล่อยไปตามยถากรรม และมองว่าไม่ใช่การเจ็บป่วยแต่เป็นเรื่องกรรมเวร แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า สามารถแก้ไขปัญหาให้ผู้พิการเหล่านี้พูดสื่อสารได้ใกล้เคียงคนปกติมากที่สุด โดยการฝึกกระตุ้นจากนักแก้ไขการพูดและนักแก้ไขการได้ยิน ที่เดิมเรียกว่านักโสตสัมผัสวิทยา บุคลากรทั้งสองประเภทจะทำร่วมกันในสาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย แม้ว่าวิชาชีพนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยมากว่า 30 ปีแล้ว แต่ก็ยังขาดแคลนกำลังคนอย่างหนัก ในโรงพยาบาลรัฐ-เอกชนทั่วประเทศมีเพียง 110 คน เป็นนักแก้ไขการพูด 64 คน ที่เหลือเป็นนักแก้ไขการได้ยิน ในอัตราส่วนบุคลากร 1 คนต่อประชากร 250,000 คน ขณะที่ต้องการประมาณ 450-500 คน ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2519 มีการผลิตเฉพาะระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยมหิดลเพียงแห่งเดียว ไม่มีการผลิตระดับปริญญาตรี ดังนั้นหลังเรียนจบเมื่อกลับไปทำงานในโรงพยาบาลต้องทำงานตำแหน่งเดิม ไม่มีตำแหน่งนักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมายตามที่ได้เรียนมา ทำให้บุคลากรเหล่านี้ไม่มีความก้าวหน้าเหมือนวิชาชีพอื่น
ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อขอเพิ่มตำแหน่งในสายงานการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป 98 แห่ง เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณา และมหาวิทยาลัยมหิดลได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรีด้านความผิดปกติของการสื่อความหมาย แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศ เริ่มรับนักศึกษาในปี 2547 ปีละ 30 คน จะจบการศึกษารุ่นแรกในปี 2551 นี้
ด้านรองศาสตราจารย์กฤษณา เลิศสุขประเสริฐ นายกสมาคมโสตสัมผัสวิทยาและการแก้ไขการพูดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย เป็นบุคลากรที่มีความสำคัญในทีมสุขภาพ และเป็นสาขาที่ต้องขึ้นทะเบียนประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2545 จึงควรกำหนดตำแหน่งในโรงพยาบาลให้ชัดเจน มิฉะนั้นจะทำให้เด็กเกิดใหม่ที่มีความพิการ หรือผู้ที่มีความผิดปกติของการสื่อความหมาย เสียโอกาสในการได้รับการวินิจฉัยและการฟื้นฟูสมรรถภาพที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการกระตุ้นพัฒนาการทางภาษา การพูด และการสื่อความหมาย ซึ่งจะบั่นทอนคุณภาพชีวิตมากเมื่อเติบโตขึ้น
**************************** 7 พฤศจิกายน 2550
มาประชาสัมพันธ์น่ะคับ เห็นมั้ยว่า คณะของเรา มีความสำคัญยังไง |
|
| | Name : PinGz [ IP : 58.10.102.83 ] Email / Msn: วันที่: 11 มกราคม 2551 / 01:31 |
|
พี่ขอเพิ่มเติมน่ะ คือว่าเมื่อน้องๆเข้ามาเรียนที่คณะของเราเมื่อขึ้นปีที่ 4 จะมีสองสาขาวิชาเอกให้น้องๆได้เลือกเรียน คือ วิชาเอก แก้ไขการได้ยิน (นักโสตสัมผัสวิทยา) และวิชาเอก แก้ไขการพูด (นักแก้ไขการพูด) เรามาดูขอบเขตการทำงานของแต่ละสาขาวิชาเอกกัน ดังนี้ นักแก้ไขการได้ยิน หรือ นัดโสตสัมผัสวิทยา (Audiologist) ลักษณะงาน ปฎิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวินิจแยหาพยาธิสภาพของระบบการได้ยินที่เกิดขึ้นตั้งแต่หูชั้นนอก หูชั้น กลาง หูชั้นใน ก้านสมอง และสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินด้วยวิธีปกติและวิธีพิเศษ ตลอดจนตรวจวินิจฉัยหาพยาธิสภาพของระบบที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ระบ[ที่กี่ยวข้องซึ่งได้แก่ ระบบการทรงตัว ตรวจเพื่อค้นหาความผิดปกติทางการได้ยินในเด็กแรกเกิดโดยเฉพาะกลุ่มเสี่งเพื่อติดตามผลและวางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพตรวจเพื่อหาความผิดปกติทางการได้ยินในเด็กก่อนวัยเรียนและตรวจเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้า รวมไปถึงงานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน โดยประเมินผลเพื่อเลือกเครื่องช่วยฟังให้เหมาะกับการสูญเสียการได้ยินของผู้ป่วย การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการฟังในผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้ป่วยเด็กหูพิการแต่กำเนิด นอกจากนี้ยังครอบคลุมไปถึงงานด้านการรณรงค์ป้องกันโรคหู หูหนวก หูตึงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและชุมชน การอนุรักษ์การได้ยินของคนงานในดรงงานอุตสาหกรรม การให้ความรู้แก่ประชาชน รวมถึงปฎิบัติงานวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพงานด้านบริการ บริหาร การเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้แกบุคคลากรที่เกี่ยวข้องในนอกและหน่วยงาน คุณสมบัติเฉพาะ จบปริญญามหาบัณฑิต หรือ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตด้านศิลปศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย วิชาเอก โสตสัมผัสวิทยา (Audiologist) นักแก้ไขการพูด (speech-Language pathologist) ลักษณะงาน ปฎิบัติงานเกี่ยวกับการวินิจฉัยความผิปกติของการสื่อความหมายทางภาษาและการพุดตรวจคัดกรองหาข้อบ่งชี้ ประเมินสภาพความผิดปกติ ทดสอบความสามารถทางด้านภาษาและการพูดรวมถึงการกลืน แยกประเภทความผิดปกติต้าง ๆ บำบัดรักษา แก้ไข และฟื้นฟูสมรรถภาพได้ครอบคลุมทุกประเภทของความผิดปกติ เช่น การพูดไม่ได้ พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ ปากแหว่งเพดานโหว่ ประสาทหูพิการ สติปัญญาอ่อน กลืนลำบาก กลืนผิดวิธี ผู้ป่วยที่ตัดกล่องเสียง ผู้ป่วยสมองพิการ เป็นต้น ดดยแก้ไขความบกพร่องที่เกิดขึ้นกับกระบวนการพูด ระบบภาษา การทำงานของอวัยวะในช่องปาก คอ หลอดอาหารช่วงต้น การปรับพฤติกรรม การเรียนรู้ อาราณ์ และการอยู่ร่วมกันในสังคมแนะนำแกผู้ปกครองญาติ ผู้ดูแล หรือผู้เกี่ยวข้องให้มีความเข้าใจ เกี่ยวกับความผิดปกติของผู้ป่วยแลเรียนรู้วิการรักษาที่ถูกต้อง คัดเลือกหรือประยุกต์ใช้เครื่องช่วย อุปกรณืเสริมวัสดุเพื่อทดแทนให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย ติดตามผลการรักษาส่งต่อผู้ป่วยเพื่อขอรับการช่วยเหลืออื่น ๆตามความเหมาะสม เผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความผิดปกติทางภาษาและการพูด พัฒนาและสร้างเทคนิคการบริหารการทำวิจัย ค้นคว้าโดยผ่านกระบวนการประเมิร วิเคราะห์และวางแผนอย่างมีระบบ คุณสมบัติ จบปริญญามหาบัณฑิต หรือ ดุษฎีบัณฑิต ด้านศิลปศาสตร์หรือ วิทยาศาสตร์ สาขาความผิดปกติทางการสื่อความหมาย วิชาเอกความผิดปกติทางภาษาและการพูด (speech and Language Pathology) ไงน้องๆๆคนไหนข้องใจอะไรก็ทิ้งคำถามไว้น่ะพี่จะมาตอบคำถามให้ (ตอนนี้พี่ง่วงแล้ว) |
|
| | Name : พี่จะขึ้นปีสี่ละ ()อยากรู้ใช่ไหมละงั้นเข้ามาเจอกาน [ IP : 58.8.175.132 ] Email / Msn: วันที่: 3 พฤษภาคม 2551 / 22:43 |
|
เจเนอเรชั่น "MP3" คนยุคใหม่เสี่ยงภัยหูดับ! และวิธีถนอมหูง่ายๆ สำหรับ "คนรักเพลง""เจเนอเรชั่น" เป็นคำอังกฤษ ที่แปลความสั้นๆ หมายถึง "ยุคสมัย" ต่างๆ ทั้งที่ผ่านมาแล้วและกำลังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ถ้าพูดถึงเทคโนโลยีเครื่องเล่นเพลง ก็ได้รับการพัฒนาต่อเนื่องหลายยุคหลายสมัย ทั้งในรูปแบบเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปคาสเซ็ต ซีดี เอ็มดี ดีวีดี กระทั่งถึงยุคปัจจุบันเครื่องเล่นเพลงระบบดิจิตอล "เอ็มพี-3" ที่ฮิตติดตลาดไปทั่วโลก โดยมีจุดเด่นตรงที่ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก พกพาง่าย และบันทึกเพลงได้เป็นพันๆ เพลงในเครื่องเดียว! ภาพวัยรุ่น คนหนุ่มสาว เดินไปเดินมา นั่งๆ นอนๆ เสียบ "หูฟัง" ค้างไว้แทบทั้งวัน เริ่มกลายเป็นสิ่งชินตา จนสื่อตะวันตกให้คำจำกัดความว่าเป็น "เจเนอเรชั่น เอ็มพี-3!" ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เจ้ากล่องดนตรีมหัศจรรย์พันธุ์จิ๋วก็มี "ภัยมืด" ซึ่งอาจเล่นงาน "ผู้ฟัง" โดยไม่ทันรู้ตัว เพราะผลการวิจัยในหลายประเทศระบุไปในทางเดียวกัน ว่า การฟังเอ็มพี-3 เป็นเวลานานๆ จะทำลาย "โสตประสาท" ของคนเราให้เสื่อมไปทีละน้อย ผลวิจัยล่าสุดขององค์กร "ออสเตรเลียน เฮียริ่ง" ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย ระบุว่า สำหรับคนที่รู้ตัวว่าชอบเปิดเอ็มพี-3 ฟังดังๆ สัญญาณแรกๆ ของอาการ "หูดับ" ถาวร ก็คือ หูอื้อบ่อยๆ และได้ยินเสียงวี้ดๆๆ ดังในหูโดยไม่มีสาเหตุ (Tinnitus)
จากการเก็บข้อมูลชาวออสเตรเลีย 1,000 คนที่ฟังเอ็มพี-3 เป็นประจำ พบประเด็นน่าวิตกว่า กลุ่มคนอายุ 18-24 ปี มีปัญหาได้ยินเสียงวี้ดในหูถึง 69 เปอร์เซ็นต์! นอกจากนั้น ในกลุ่มวัยรุ่นยังตอบด้วยความเข้าใจแบบผิดๆ ด้วยว่า อาการหูได้ยินไม่ค่อยชัด หรือ หูเสื่อมไม่น่ากลัวเท่าไหร่ และเชื่อว่าเทคโนโลยีในวันข้างหน้าจะแก้โรคนี้ได้ง่ายดาย! ศาสตราจารย์ฮาร์วีย์ ดิลลอน หนึ่งในผู้ทำวิจัย กล่าวว่า คนจำนวนมากไม่ค่อยสนใจสัญญาณเตือนภัยโรคหูเสื่อม กว่าจะถึงมือหมอส่วนใหญ่ก็ช้าเกินไป "ถ้าเริ่มมีคนต้องตะเบ็งเสียงหรือตะโกนคุยกับคุณบ่อยๆ แสดงว่าหูของคุณเริ่มผิดปกติแล้ว วิธีทดสอบให้ลองไปหาที่เงียบๆ อยู่สักพัก ถ้ามีเสียงวี้ดหรือเสียงดังในหูก็ให้มาพบแพทย์ เพราะถ้าปล่อยไว้ต่อไปเสียงดังกล่าวจะดังตลอดเวลา" ในทางการแพทย์ระดับเสียงดังเกิน 80 เดซิเบล ซึ่งดังพอๆ กับเวลามีคนมาตะโกนใส่หูเรานั้นถือว่าทำอันตรายต่อระบบโสตประสาทได้แล้ว ขณะที่เครื่องเอ็มพี-3 ชั้นดีสามารถเร่งเสียงดังได้เกิน 100 เดซิเบลขึ้นไป ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพราะถึงขนาดทำให้รัฐบาลฝรั่งเศสและสหภาพยุโรป ต้องออกกฎห้ามเครื่องเล่นเอ็มพี-3 ยอดฮิต "ไอพ็อด" ของบริษัทแอปเปิ้ลปรับเสียงดังเกิน 100 เดซิเบล เพื่อป้องกันไม่ให้อนาคตของชาติกลายเป็นคน "หูเสีย" กันไปหมด ส่วนวิธีถนอมหูง่ายๆ สำหรับ "คนรักเพลง" ทำได้โดยการเลือกซื้อหูฟังขนาดใหญ่ครอบทั้งหู อย่าใช้แบบหูฟังเล็กๆ แบบ "เอียร์บัด" ชนิดเสียบทะลวงตรงเข้าไปในรูหูเลย เพราะยิ่งทำให้ต้องเปิดเสียงเพลงดังขึ้น เพื่อกลบเสียงสภาวะแวดล้อม บางอารมณ์ถ้าต้องการฟังเพลงดังสุดๆ จริงๆ อย่าให้นานเกิน 8-15 นาที และอย่าใช้วิธีเปิดเพลงดังๆ เพื่อกลบเสียงอื่นๆ เด็ดขาด เพราะนั่นคือการทารุณกรรมหูระดับร้ายแรงที่สุด! ที่มา นสพ.ข่าวสด |
|
| | Name : akira_ked_sa< My.iD > [ IP : 202.28.183.9 ] Email / Msn: วันที่: 18 มิถุนายน 2551 / 15:59 |
FAQ คำถามที่พบบ่อยQ. จะได้เงินเดือนเท่าไหร่?A. เงินเดือนขั้นต่ำจบป.ตรีเท่ากันกับคณะอื่นๆค่ะ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราทำงานของรัฐหรือเอกชนด้วยนะ
ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลก็จะมีเงื่อนไขและข้อตกลงแตกต่างกันค่ะ (แล้วก็ขึ้นอยู่กับความขยันและเราเลือกงานรึป่าว?)Q. จะมีงานทำไหม?A. งานมีแน่นอนค่ะ เพราะตอนนี้บุคลาการทางด้านของเรากำลังขาดแคลน และสามารถผลิตบุคลากรได้จำนวนน้อยต่อปี ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีงานทำ ถ้าจะไม่มีก็อาจจะเป็นเพราะน้องๆเลือกงานอย่างเดียวแหละค่ะ
Q. จะต่อเป็นหมอได้ไหม?A. ขอย้ำอีกครั้งนะคะว่าคณะเราไม่ใช่แพทย์ เป็นแค่เพียงบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ตำแหน่งของเราก็คือสายงานเวชศาสตร์การสื่อความหมายค่ะ ซึ่งถ้าน้องอยากเรียนแพทย์ก็ต้องไปเลือกเรียนใหม่(แอดฯใหม่) ถ้าน้องๆอยากเป็นหมอ พี่ว่าเรียนแพทย์ไปเลยดีกว่า เพราะน้องๆต้องมาเสียเวลาเรียนตั้ง 4 ปีแน่ะถึงจะได้ไปเรียนในสิ่งที่ต้องการจริงๆ พี่ว่าให้คนที่เค้าอยากเรียนจริงๆเรียนดีกว่าค่ะQ. คณะนี้เรียนกี่ปี?A. เรียน 4 ปีค่ะQ. ต้องใช้คะแนนความถนัดแพทย์ไหม?A. ไม่ใช้ค่ะ (เพราะอยู่เราอยู่ในหลักสูตรวท.บ. แต่ไม่ใช่หลักสูตรพ.บ.)
Q. จบไปแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง?A. นักแก้ไขการพูด นักแก้ไขการได้ยิน ซึ่งตำแหน่งของเรานโรงพยาบาลก็คือ นักเวชศาสตร์การสื่อความหมายค่ะQ. สามารถเรียนต่อป.โทที่รามาฯได้เลยหรือเปล่า?A. สำหรับเรื่องหลักสูตรปฬโทตอนนี้ทางคณะได้ ยังไม่ได้เปิดรับนะคะ เพราะเนื่องจากอาจารย์ที่สอนหลักสูตรป.โท
และป.ตรีเป็นอาจารย์ท่านเดียวกัน ทำให้เมื่อเปิดหลักสูตรป.ตรีแล้วก็ทำให้หลักสูตรป.โทต้องหยุดไปเพราะมีคนไม่พอ
แล้วก็ตอนนี้อาจารย์เค้าก็พยายามจะเปิดป.โทอีกครั้ง แต่ก็ยังยืนยันไม่ได้ว่าเมื่อไหร่ เพราะฉะนั้นตอนนี้ถ้าอยากเรียน
ป.โทที่คณะก็ต้องรอไปก่อนค่ะQ. สามารถเรียนต่อป.โทได้ที่ไหนบ้าง?A. ฮ่องกง ออสเตรเลีย อเมริกา ยุโรป ขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่มหาลัยที่นั้นที่เปิดด้วยนะคะQ. ต้องได้คะแนนเท่าไหร่ถึงจะเข้าคณะนี้ได้?A. อันนี้มันก็ขึ้นอยู่กับคะแนนของแต่ละปีนะคะ พี่ก็บอกไม่ได้เหมือนกัน แต่ยังไงก็สู้นะคะ เป็นกำลังใจให้น้องๆทุกคนค่ะ ^^
Q. เวลาแยกสาขา เค้าเลือกกันอย่างไร?
A. ตอนแยกเอกตอนปี 3(เทอมปลาย) อาจารย์เค้าให้เขียนว่าเราอยากเลือกสาขาไหนค่ะ
แล้วแต่ละเอกก็รับได้ไม่เกิน 15 คนค่ะ ถ้าเกินก็อาจจะมีสอบสัมภาษณ์เกิดขึ้น
Q. ต้องสอบใบประกอบโรคศิลป์หรือป่าว?A. สอบค่ะ โดยเราต้องไปทำการสอบเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลป์
ถ้าไม่งั้นจะผิดกฎหมาย(ยกเว้นว่าไม่ทำงานในด้านนี้) ซึ่งคนที่จะสอบได้ก็ต้องจบจากทางสาขานี้
และต้องมีชั่วโมงปฏิบัติงานมาไม่น้อยกว่า 350 ชั่วโมงด้วยค่ะ
Q. มีสมาคมรองรับหรือไม่?A. มีค่ะ สมาคมของเราก็คือสมาคมโสตสัมผัสและแก้ไขการพูดแห่งประเทศไทยค่ะ(THAISHA)
ซึ่งก็จะมีเครือข่ายของนักแก้ไขการพูดและการได้ยินในประเทศไทยเข้าร่วม โดยจะมีการจัดการประชุมสัมนาในทุกๆปี
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น